น้ำยา R22 *ตามประกาศกรมโรงงานอุตาสหกรรม จะงดการนำเข้าในปี 2573 (ระหว่างนั้นก็จะยังมีการนำเข้ามาอยู่ แต่จะค่อย ๆ ลดปริมาณการนำเข้าลงจนยกเลิกการนำเข้า) น้ำยา R410a และ R32 **ทางช่างสามารถใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งร่วมกันได้ (สามารถใช้แบบเดียวกันได้) ข้อดีของน้ำยา R32 - มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูงที่มีคุณสมบัติที่นอกจากไม่ทำลายชั้นโอโซน แล้วยังส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยกว่าสารทำความเย็นปัจจุบัน R410A ถึง 3 เท่า และยังให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นมากกว่า R22 ถึง 60% คุณสมบัติ / ประเภทน้ำยา | R32 | R410a | R22 | สารประกอบ | สารเดี่ยว | สารผสมควอไซ-อะซิโอโทรปิค(สารผสมระหว่างR32:R125 = 50:50 wt %) | สารเดี่ยว | สูตร | CH2F2 | CH2F2 / CHF2CF2 | CHCLF2 | น้ำมันคอมเพลสเซอร์ | น้ำมันสังเคราะห์(ether oil) | น้ำมันสังเคราะห์(ether oil) | น้ำมันแร่(Mineral Oil)(suniso) | ส่วนประกอบ (อัตราส่วนผสม:wt%) | - | R32/R125 | - | จุดเดือด | -51.7 | -51.5 | -40.8 | แรงดัน (คุณสมบัติทางกายภาพ) | 3.14 | 3.07 | 1.94 | ความสามารถในการทำความเย็น (คุณสมบัติเชิงกายภาพ) | 160 | 141 | 100 | ค่าศักยภาพในการทำลายโอโซน(ODP) | 0 | 0 | 0.055 | ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน(GWP) | 675 | 2090 | 1810 | ความสามารถในการติดไฟ | สารติดไฟยาก(A2L) | ไม่ติดไฟ(A1) | ไม่ติดไฟ(A1) | เปรียบเทียบกับสารทำความเย็น R410A | แรงดันเท่ากัน เครื่องมือบำรุงรักษาสามารถใช้ร่วมกันได้ | | | เปรียบเทียบกับสารทำความเย็น R22 | แรงดันประมาณ 1.6 เท่า เครื่องมือบำรุงรักษาไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ เนื่องจากคุณสมบัติด้านการต้านทางแรงดัน | | |
ผลการเปรียบเทียบระหว่าง น้ำยา R32 และ R410 น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น หากต้องเลือกเครื่องปรับอากาศหรือแอร์บ้าน เราต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ สารทำความเย็น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ น้ำยาแอร์ คือสารเคมีที่มีคุณสมบัติไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น จุดเดือดต่ำกว่าสารทั่วไป เมื่อผ่านกระบวนการอัดสารทำความเย็นให้เป็นไอ ไหลเวียนภายในระบบเครื่องปรับอากาศและสร้างความเย็นสบายให้แก่เรา ปัจจุบันสารทำความเย็นที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัย มีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ R22, R410A และ R32 ซึ่งสารทำความเย็น R32 นี้ ถึงเป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายแรกของประเทศไทยและของโลกที่ริเริ่มพัฒนา และนำมาใช้ไปทั่วโลก ตามข้อตกลงในพิธีสารมอนทรีออลเมื่อปี 1987 ที่ให้ความสำคัญกับการลดการทำลายชั้นโอโซน ทั่วโลกจึงเปลี่ยนจากการใช้สารทำความเย็น R22 มาเป็น R410A ซึ่งแม้ว่าจะลดผลกระทบในการทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนได้อย่างดี แต่ก็ยังก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง จึงมีกระแสการเปลี่ยนแปลงสารทำความเย็นที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวด ล้อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสารทำความเย็น R32 นี้ มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูงที่มีคุณสมบัติที่นอกจากไม่ทำลายชั้นโอโซน แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยกว่าสารทำความเย็นปัจจุบัน R410A ถึง 3 เท่า และยังให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นมากกว่า R22 ถึง 60% นั่นเองเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 ผสานกับระบบอินเวอร์เตอร์ที่ช่วยเรื่องการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี ทำให้ค่าประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน (หรือ Seasonal Energy Efficiency Ratio) สูงสุด
ผลการเปรียบเทียบระหว่าง น้ำยา R32 และ R410
การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 ในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 นั้น ช่างสามารถใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ R410A ได้เลย จุดที่เน้นย้ำช่างติดตั้งคือต้องให้ช่างทำระบบสูญญากาศ หรือ Vacuum เพื่อเอาความชื้นออกให้หมด สำหรับกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศจำนวน 13 โรงงานขานรับนโยบายของกรมโรงงานให้ปรับเครื่องจักรให้สามารถผลิตแอร์รองรับ การใช้น้ำยาแอร์ใหม่ R32 เพื่อลดสาร CFC ยอมรับกระทบราคาขายแอร์ 5-10% วางเป้าหมายเลิกการนำเข้าน้ำยาแอร์ตัวเก่า R22 เป็นศูนย์ในปี 2573 นางจินตนา ศิริสันธนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เตรียมปรับเปลี่ยนการใช้น้ำยาสำหรับเครื่องปรับอากาศในขนาดต่ำกว่า 24,000 บีทียู จากเดิมที่เป็นน้ำยา R22 ที่มีสารเอชซีเอฟซี (HCFCs) เปลี่ยนมาเป็นน้ำยา R32 แทน เพื่อลดการปล่อยสาร CFC ที่จะทำลายชั้นบรรยากาศ ตามนโยบายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการให้ยกเลิกการใช้สารดังกล่าวแบบ ขั้นบันไดจนกระทั่งเป็นศูนย์ในปี 2573 ตามที่ไทยได้ลงนามสนธิสัญญาตามพิธีสารมอนทรีออล ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องยกเลิกใช้สารดังกล่าว ทั้งนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ของบประมาณจากองค์การระหว่างประเทศ 700 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาในการปรับเปลี่ยนการใช้น้ำยาเครื่องปรับ อากาศจาก R22 เป็น R32 แทน โดยขณะนี้มีโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศไทยที่ต้องการเข้าร่วมโครงการเพื่อ ปรับเปลี่ยนการใช้น้ำยาดังกล่าวประมาณ 13 โรงงาน และยังมีโรงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 10 โรงงานที่ต้องการเข้าร่วม เช่น โรงงานฉีดโฟมในตู้เย็น สำหรับงบประมาณนี้ไม่ได้สนับสนุนในรูปแบบของเงิน แต่จะสนับสนุนในการจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่สามารถผลิตเครื่องปรับ อากาศที่รองรับการใช้น้ำยา R32 แทน "ไทยปรับไปใช้น้ำยา R32 แทนที่จะใช้น้ำยา R410A ที่มีการใช้ในยุโรปและสหรัฐ เพราะน้ำยา R410A มีข้อเสีย คือมีค่า GWP (Global warming potential) สูงมาก ซึ่งค่านี้เกิดจากความร้อนที่คายออกมาจากสารต่าง ๆ ทำให้โลกร้อน ฉะนั้นหากไทยจะเลิกใช้ R22 มาเป็น R410A จึงไม่มีประโยชน์ รวมถึงการหารือของประเทศชั้นนำต่างเห็นว่า R32 เป็นน้ำยาแอร์ที่ดีที่สุดในขณะนี้" นางจินตนากล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้คาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า โรงงานในประเทศจะเริ่มทยอยผลิตเครื่องปรับอากาศที่รองรับการใช้น้ำยาดัง กล่าว และจะเริ่มนำเข้าน้ำยา R32 มาใช้เช่นกัน ซึ่งคาดว่าต้นทุนอาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และส่งผลต่อราคาจำหน่ายเครื่องปรับอากาศประมาณในช่วงเริ่มต้นแค่ร้อยละ 5-10 แต่เชื่อมั่นว่าหากกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศมีการนำเข้าที่มากขึ้นใน อนาคตจะทำให้ราคาลดลงได้
รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องแนวทางการอนุญาตนำเข้าสารเอชซีเอฟซีเพื่อใช้ในประเทศ พ.ศ. 2555 กำหนดว่า น้ำยาเครื่องปรับอากาศ R22 ได้เริ่มถูกควบคุมการนำเข้าตั้งแต่ปี 2556-2557 พร้อมถูกจำกัดการนำเข้าอยู่ที่ 927 โอดีพีตัน ถัดมาในปี 2558-2562 ลดการนำเข้าเหลือ 834 โอดีพีตัน ปี 2563-2567 นำเข้าเหลือ 602 โอดีพีตัน ปี 2568-2572 นำเข้าเหลือ 301 โอดีพีตัน และในปี 2573 งดการนำเข้า อย่างไรก็ตาม กรมโรงงานฯขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงปริมาณการนำเข้าสารดังกล่าวได้ตาม ความเหมาะสม สำหรับวันที่ 1 มกราคม 2560 จะเริ่มผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R32 และห้ามผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 สำหรับโรงงานทั้ง 13 โรงที่เข้าร่วม แต่ยังสามารถขายได้จนถึงเดือนธันวาคม และในวันที่ 1 มกราคม 2561 ห้ามขายเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 ทั่วประเทศ แต่สำหรับผู้ที่ยังต้องใช้เครื่องปรับอากาศที่ต้องใช้น้ำยา R22 อยู่ยังสามารถใช้ได้ เพราะก็ยังมีการนำเข้าน้ำยาตัวนี้บางส่วน
อย่างไรก็ตาม น้ำยาเครื่องปรับอากาศ R32 มีข้อเสีย คือติดไฟเล็กน้อย ต่างจากน้ำยาตัวเดิมและตัวอื่น ๆ ที่ไม่ติดไฟ แต่หากใช้น้ำยาปริมาณน้อย ก็จะติดไฟน้อย เบื้องต้นจึงใช้น้ำยาดังกล่าวในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กก่อน ที่ต่ำกว่า 24,000 บีทียู R22 มีค่าการทำลายโอโซนสูงถึง 1800 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ และ มีค่าการทำลายโอโซน 5.5% เมื่อ R11 เท่ากับ 100% R410a นั้นมีค่าการทำลายโอโซนสูงถึง 2088 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ และ มีค่าการทำลายโอโซน 0% ส่วน R32 นั้นคิดเป็น 675 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ และ มีค่าการทำลายโอโซน 0% การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่าง CO2 หรือคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก ๆ ออกสู่บรรยากาศ นั้นมันไปบล็อกรังสี UV-B ไม่ให้สะท้อนกลับออกไปสู่ชั้น Stratosphere เมื่อความร้อนของรังสียูวีถูกบล็อกอยู่บนพื้นโลก ๆ ของเราก็เลยร้อนจัดครับ เหมือนเตาอบ น้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมและอาจหมายถึงซึนามิที่เป็น ปัญหาอย่างต่อเนื่องเท่าที่เห็นกันมาหลาย ๆ ปี ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบอย่างหนักจากซึนามิที่เมืองเซนไดเมื่อไม่นานมานี้ การที่เขาตระหนักถึงการลดภาวะโลกร้อนนั้นไม่แปลกครับ ส่วน Mitsubishi อีกไม่นานและแทบจะทุกแบรนด์จะหันหัวเรือเข้าสู่ระบบ R32 ทั้งหมด ตาม Daikin ไปติดๆ ดังนั้นถ้าจะซื้อแอร์ใหม่แนะนำเลยให้เลือกระบบ R32 แม้ว่ามันจะติดไฟได้แต่ก็ไม่ได้ง่ายเสียทีเดียว ระดับการติดไฟอยู่ระหว่าง R22 กับ COLD22 และนี่ไม่ใช่การเปลี่ยนชื่อของ COLD22 แต่เป็นคนละชนิดกัน เรื่องนี้เป็นการตัดสินใจกันในระดับโลกฝั่งอเมริกาอาจจะยังเชียร์ R410a เพราะห่วงเรื่องของความปลอดภัยเรื่องการวาบไฟ ส่วน R32 ถูกบรรจุไว้ในแผนการตลาดและผลิตของญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อย ภายในปี 2020 สารทำความเย็น R32 ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในตลาดฝั่งเอเซียและอเมริกาถ้าระดับความร้อนของโลก ยังไม่ลดลง แน่นอนถ้าตัดเรื่องติดไฟออกไปมันช่วยให้คุณประหยัดไฟได้อีกด้วย |