Samsung KB
      
(-)
Product Type Search
   |   Logout   
  Category   Open AllClose All
Icon [ACN] [เครื่องปรับอากาศ] ความแตกต่างของสารทำความเย็น R22 ,R410a และ R32 ( )
  ก่อนปิดกดให้คะแนน content นี้กันหน่อยจ้า
SAVE >>> Icon

น้ำยา R22 *ตามประกาศกรมโรงงานอุตาสหกรรม จะงดการนำเข้าในปี 2573 (ระหว่างนั้นก็จะยังมีการนำเข้ามาอยู่ แต่จะค่อย ๆ ลดปริมาณการนำเข้าลงจนยกเลิกการนำเข้า)

น้ำยา R410a และ R32 **ทางช่างสามารถใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งร่วมกันได้ (สามารถใช้แบบเดียวกันได้) 

ข้อดีของน้ำยา R32 - มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูงที่มีคุณสมบัติที่นอกจากไม่ทำลายชั้นโอโซน แล้วยังส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยกว่าสารทำความเย็นปัจจุบัน R410A ถึง 3 เท่า และยังให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นมากกว่า R22 ถึง 60%

 

คุณสมบัติ / ประเภทน้ำยา 

R32 

R410a 

R22 

สารประกอบ 

สารเดี่ยว 

สารผสมควอไซ-อะซิโอโทรปิค(สารผสมระหว่างR32:R125 = 50:50 wt %) 

สารเดี่ยว 

สูตร

CH2F2 CH2F2 / CHF2CF2 CHCLF2

น้ำมันคอมเพลสเซอร์ 

น้ำมันสังเคราะห์(ether oil) น้ำมันสังเคราะห์(ether oil)  น้ำมันแร่(Mineral Oil)(suniso)

ส่วนประกอบ

(อัตราส่วนผสม:wt%)

R32/R125 

จุดเดือด

-51.7 -51.5 -40.8 

แรงดัน

(คุณสมบัติทางกายภาพ) 

3.14 3.07 1.94 

ความสามารถในการทำความเย็น 

(คุณสมบัติเชิงกายภาพ)

160 141 100 

ค่าศักยภาพในการทำลายโอโซน(ODP)

0.055 

ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน(GWP) 

675 2090 1810 

ความสามารถในการติดไฟ 

สารติดไฟยาก(A2L) ไม่ติดไฟ(A1) ไม่ติดไฟ(A1) 

เปรียบเทียบกับสารทำความเย็น R410A 

แรงดันเท่ากัน

เครื่องมือบำรุงรักษาสามารถใช้ร่วมกันได้ 

  

เปรียบเทียบกับสารทำความเย็น R22 

แรงดันประมาณ 1.6 เท่า

เครื่องมือบำรุงรักษาไม่สามารถใช้ร่วมกันได้

เนื่องจากคุณสมบัติด้านการต้านทางแรงดัน

  


ผลการเปรียบเทียบระหว่าง น้ำยา R32 และ R410

น้ำยาแอร์ หรือ สารทำความเย็น หากต้องเลือกเครื่องปรับอากาศหรือแอร์บ้าน เราต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง หนึ่งในนั้นก็คือ สารทำความเย็น หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ น้ำยาแอร์ คือสารเคมีที่มีคุณสมบัติไม่มีพิษ ไม่มีกลิ่น จุดเดือดต่ำกว่าสารทั่วไป เมื่อผ่านกระบวนการอัดสารทำความเย็นให้เป็นไอ ไหลเวียนภายในระบบเครื่องปรับอากาศและสร้างความเย็นสบายให้แก่เรา ปัจจุบันสารทำความเย็นที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศสำหรับที่อยู่อาศัย มีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ R22, R410A และ R32 ซึ่งสารทำความเย็น R32 นี้ ถึงเป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศรายแรกของประเทศไทยและของโลกที่ริเริ่มพัฒนา และนำมาใช้ไปทั่วโลก ตามข้อตกลงในพิธีสารมอนทรีออลเมื่อปี 1987 ที่ให้ความสำคัญกับการลดการทำลายชั้นโอโซน ทั่วโลกจึงเปลี่ยนจากการใช้สารทำความเย็น R22 มาเป็น R410A ซึ่งแม้ว่าจะลดผลกระทบในการทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนได้อย่างดี แต่ก็ยังก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนสูง จึงมีกระแสการเปลี่ยนแปลงสารทำความเย็นที่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวด ล้อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสารทำความเย็น R32 นี้ มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูงที่มีคุณสมบัติที่นอกจากไม่ทำลายชั้นโอโซน แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยกว่าสารทำความเย็นปัจจุบัน R410A ถึง 3 เท่า และยังให้ประสิทธิภาพการทำความเย็นมากกว่า R22 ถึง 60% นั่นเองเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 ผสานกับระบบอินเวอร์เตอร์ที่ช่วยเรื่องการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี ทำให้ค่าประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน (หรือ Seasonal Energy Efficiency Ratio) สูงสุด

ผลการเปรียบเทียบระหว่าง น้ำยา R32 และ R410

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 ในการติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น R32 นั้น ช่างสามารถใช้อุปกรณ์ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ R410A ได้เลย จุดที่เน้นย้ำช่างติดตั้งคือต้องให้ช่างทำระบบสูญญากาศ หรือ Vacuum เพื่อเอาความชื้นออกให้หมด สำหรับกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศจำนวน 13 โรงงานขานรับนโยบายของกรมโรงงานให้ปรับเครื่องจักรให้สามารถผลิตแอร์รองรับ การใช้น้ำยาแอร์ใหม่ R32 เพื่อลดสาร CFC ยอมรับกระทบราคาขายแอร์ 5-10% วางเป้าหมายเลิกการนำเข้าน้ำยาแอร์ตัวเก่า R22 เป็นศูนย์ในปี 2573 นางจินตนา ศิริสันธนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เตรียมปรับเปลี่ยนการใช้น้ำยาสำหรับเครื่องปรับอากาศในขนาดต่ำกว่า 24,000 บีทียู จากเดิมที่เป็นน้ำยา R22 ที่มีสารเอชซีเอฟซี (HCFCs) เปลี่ยนมาเป็นน้ำยา R32 แทน เพื่อลดการปล่อยสาร CFC ที่จะทำลายชั้นบรรยากาศ ตามนโยบายของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการให้ยกเลิกการใช้สารดังกล่าวแบบ ขั้นบันไดจนกระทั่งเป็นศูนย์ในปี 2573 ตามที่ไทยได้ลงนามสนธิสัญญาตามพิธีสารมอนทรีออล ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องยกเลิกใช้สารดังกล่าว ทั้งนี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ของบประมาณจากองค์การระหว่างประเทศ 700 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาในการปรับเปลี่ยนการใช้น้ำยาเครื่องปรับ อากาศจาก R22 เป็น R32 แทน โดยขณะนี้มีโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศไทยที่ต้องการเข้าร่วมโครงการเพื่อ ปรับเปลี่ยนการใช้น้ำยาดังกล่าวประมาณ 13 โรงงาน และยังมีโรงงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 10 โรงงานที่ต้องการเข้าร่วม เช่น โรงงานฉีดโฟมในตู้เย็น สำหรับงบประมาณนี้ไม่ได้สนับสนุนในรูปแบบของเงิน แต่จะสนับสนุนในการจัดหาเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่สามารถผลิตเครื่องปรับ อากาศที่รองรับการใช้น้ำยา R32 แทน "ไทยปรับไปใช้น้ำยา R32 แทนที่จะใช้น้ำยา R410A ที่มีการใช้ในยุโรปและสหรัฐ เพราะน้ำยา R410A มีข้อเสีย คือมีค่า GWP (Global warming potential) สูงมาก ซึ่งค่านี้เกิดจากความร้อนที่คายออกมาจากสารต่าง ๆ ทำให้โลกร้อน ฉะนั้นหากไทยจะเลิกใช้ R22 มาเป็น R410A จึงไม่มีประโยชน์ รวมถึงการหารือของประเทศชั้นนำต่างเห็นว่า R32 เป็นน้ำยาแอร์ที่ดีที่สุดในขณะนี้" นางจินตนากล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้คาดว่าในอีก 4 ปีข้างหน้า โรงงานในประเทศจะเริ่มทยอยผลิตเครื่องปรับอากาศที่รองรับการใช้น้ำยาดัง กล่าว และจะเริ่มนำเข้าน้ำยา R32 มาใช้เช่นกัน ซึ่งคาดว่าต้นทุนอาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และส่งผลต่อราคาจำหน่ายเครื่องปรับอากาศประมาณในช่วงเริ่มต้นแค่ร้อยละ 5-10 แต่เชื่อมั่นว่าหากกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศมีการนำเข้าที่มากขึ้นใน อนาคตจะทำให้ราคาลดลงได้

รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่องแนวทางการอนุญาตนำเข้าสารเอชซีเอฟซีเพื่อใช้ในประเทศ พ.ศ. 2555 กำหนดว่า น้ำยาเครื่องปรับอากาศ R22 ได้เริ่มถูกควบคุมการนำเข้าตั้งแต่ปี 2556-2557 พร้อมถูกจำกัดการนำเข้าอยู่ที่ 927 โอดีพีตัน ถัดมาในปี 2558-2562 ลดการนำเข้าเหลือ 834 โอดีพีตัน ปี 2563-2567 นำเข้าเหลือ 602 โอดีพีตัน ปี 2568-2572 นำเข้าเหลือ 301 โอดีพีตัน และในปี 2573 งดการนำเข้า อย่างไรก็ตาม กรมโรงงานฯขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงปริมาณการนำเข้าสารดังกล่าวได้ตาม ความเหมาะสม สำหรับวันที่ 1 มกราคม 2560 จะเริ่มผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R32 และห้ามผลิตเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 สำหรับโรงงานทั้ง 13 โรงที่เข้าร่วม แต่ยังสามารถขายได้จนถึงเดือนธันวาคม และในวันที่ 1 มกราคม 2561 ห้ามขายเครื่องปรับอากาศที่ใช้น้ำยา R22 ทั่วประเทศ แต่สำหรับผู้ที่ยังต้องใช้เครื่องปรับอากาศที่ต้องใช้น้ำยา R22 อยู่ยังสามารถใช้ได้ เพราะก็ยังมีการนำเข้าน้ำยาตัวนี้บางส่วน


อย่างไรก็ตาม น้ำยาเครื่องปรับอากาศ R32 มีข้อเสีย คือติดไฟเล็กน้อย ต่างจากน้ำยาตัวเดิมและตัวอื่น ๆ ที่ไม่ติดไฟ แต่หากใช้น้ำยาปริมาณน้อย ก็จะติดไฟน้อย เบื้องต้นจึงใช้น้ำยาดังกล่าวในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กก่อน ที่ต่ำกว่า 24,000 บีทียู R22 มีค่าการทำลายโอโซนสูงถึง 1800 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ และ มีค่าการทำลายโอโซน 5.5% เมื่อ R11 เท่ากับ 100% R410a นั้นมีค่าการทำลายโอโซนสูงถึง 2088 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ และ มีค่าการทำลายโอโซน 0% ส่วน R32 นั้นคิดเป็น 675 เท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ และ มีค่าการทำลายโอโซน 0% การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่าง CO2 หรือคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก ๆ ออกสู่บรรยากาศ นั้นมันไปบล็อกรังสี UV-B ไม่ให้สะท้อนกลับออกไปสู่ชั้น Stratosphere เมื่อความร้อนของรังสียูวีถูกบล็อกอยู่บนพื้นโลก ๆ ของเราก็เลยร้อนจัดครับ เหมือนเตาอบ น้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมและอาจหมายถึงซึนามิที่เป็น ปัญหาอย่างต่อเนื่องเท่าที่เห็นกันมาหลาย ๆ ปี ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบอย่างหนักจากซึนามิที่เมืองเซนไดเมื่อไม่นานมานี้ การที่เขาตระหนักถึงการลดภาวะโลกร้อนนั้นไม่แปลกครับ ส่วน Mitsubishi อีกไม่นานและแทบจะทุกแบรนด์จะหันหัวเรือเข้าสู่ระบบ R32 ทั้งหมด ตาม Daikin ไปติดๆ ดังนั้นถ้าจะซื้อแอร์ใหม่แนะนำเลยให้เลือกระบบ R32 แม้ว่ามันจะติดไฟได้แต่ก็ไม่ได้ง่ายเสียทีเดียว ระดับการติดไฟอยู่ระหว่าง R22 กับ COLD22 และนี่ไม่ใช่การเปลี่ยนชื่อของ COLD22 แต่เป็นคนละชนิดกัน เรื่องนี้เป็นการตัดสินใจกันในระดับโลกฝั่งอเมริกาอาจจะยังเชียร์ R410a เพราะห่วงเรื่องของความปลอดภัยเรื่องการวาบไฟ ส่วน R32 ถูกบรรจุไว้ในแผนการตลาดและผลิตของญี่ปุ่นเป็นที่เรียบร้อย ภายในปี 2020 สารทำความเย็น R32 ก็จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณในตลาดฝั่งเอเซียและอเมริกาถ้าระดับความร้อนของโลก ยังไม่ลดลง แน่นอนถ้าตัดเรื่องติดไฟออกไปมันช่วยให้คุณประหยัดไฟได้อีกด้วย



Keyword :
Created By : Natthachai Sunny (ซันนี่) View : 166 Modified By : Natthachai Sunny (ซันนี่)
Created Date : 2017-03-22 13:23:58 Modified Date : 2017-03-22 15:32:52


True Touch © 2011    |   Logout DB :kbsamsung · Version :13.3.22